วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระราชพิธีกาญจนาภิเษก

พระราชพิธีกาญจนาภิเษก


วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๕.๓๐ น.
พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๕.๐๐ น.
การสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ ของกองทัพไทย ณ บริเวณถนนราชดำเนินจากท้องสนามหลวง ถึงลานพระราชวังดุสิต
วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๙.๓๐ น.
งานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ณ ทำเนียบรัฐบาล
วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๗.๐๐ น.
คณะทูตานุทูตเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
วันจันทร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๖.๓๐ น.
พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงสถาปนาสมณศักดิ์พระสงฆ์ ๕๙ รูป ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
วันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๐.๐๐ น.
พระราชพิธีบวงสรวงอดีตพระมหากษัตริย์ และเสด็จออกมหาสมาคม พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ณ พลับพลาพิธี ท้องสนามหลวง
วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๙, เวลา ๑๖.๓๐ น.
พระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย รัชกาลที่ ๘ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง

พระราชดำรัส

พระราชดำรัส
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
และพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ


วันศุกร์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และพสกนิกรที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
          พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
          พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันศุกร์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
          พระราชดำรัส พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี ๒๕๔๘
วันเสาร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
          พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
          พระราชทานแก่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนาม ของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันพุธที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
          พระราชดำรัส พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี ๒๕๔๗
วันพฤหัสบดีที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
          พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันจันทร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
          พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคล ที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)
วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
          พระราชดำรัส พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี ๒๕๔๖
วันพุธที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
          พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ (ฉบับไม่เป็นทางการ)

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระเกียรติยศ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจและพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ ที่สำคัญเป็นต้นว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 136 ฉบับ ใน พ.ศ. 2540โดยทรงได้รับมอบถวายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่

ราชบุตร

พระราชบุตร

(จากทางขวา) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชโอรสและพระราชธิดาด้วยกันสี่พระองค์ตามลำดับดังต่อไปนี้
  1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน พ.ศ. 2494, สถานพยาบาลมงต์ชัวซี เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงสมรสกับนายปีเตอร์ เจนเซ่น ชาวอเมริกัน โดยมีพระโอรสหนึ่งองค์และพระธิดาสององค์ ทั้งนี้ คำว่า "ทูลกระหม่อมหญิง" เป็นคำเรียกพระราชวงศ์ที่มีพระชนนีเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
  2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร; ประสูติ: 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ นางสุจาริณี วิวัชรวงศ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ ตามลำดับ โดยมีพระโอรสหนึ่งพระองค์และสี่องค์ กับพระธิดาสองพระองค์
  3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์; ประสูติ: 2 เมษายน พ.ศ. 2498, พระที่นั่งอัมพรสถาน)
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ประสูติ: 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500, พระที่นั่งอัมพรสถาน) ทรงอภิเษกสมรสกับนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน โดยมีพระธิดาสองพระองค์

เมื่อทรงพระเยาว

ทรงพระเยาว์

(ด้านหน้า จากขวามาซ้าย) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช; สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า "เล็ก"[9][12]
เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา

ทรงศึกษา

พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ "โรงเรียนแห่งใหม่ของซืออีสโรมองด์" (ฝรั่งเศส: École Nouvelle de la Suisse Romande, เอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์) เมืองแชลลี-ซูร์-โลซาน (ฝรั่งเศส: Chailly-sur-Lausanne)
พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง